-
ให้หน่วยงานราชการ ดำเนินการด้านความปลอดภัยไม่ให้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่มาตรฐานกำหนด
-
ให้นายจ้างดูแลความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างให้เป็นไปตามมาตรฐาน
-
ลูกจ้างและนายจ้างมีหน้าที่ร่วมมือในการดำเนินการด้านความปลอดภัย
-
บุคคลที่จะทำการตรวจวัดทางด้านความปลอดภัยต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนที่สำนักงานความปลอดภัยแรงงาน
-
นิติบุคคลที่จะทำการตรวจวัดจะต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดี
-
ให้นายจ้าง อบรม แจกคู่มือกับลูกจ้างก่อนเข้าทำงานในพื้นที่อันตราย
-
ให้นายจ้างติดประกาศสัญญลักษณ์เตือนอันตราย
-
นายจ้างต้องจัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยให้ลูกจ้าง และลูกจ้างต้องส่วมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน
-
ให้ผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงมีหน้าที่ดำเนินการด้านความปลอดภัย
-
ให้นายจ้างประเมินอันตราย ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และจัดทำแผนงานด้านความปลอดภัยฯ
-
ผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัยจะต้องขอใบอนุญาตจากอธิบดี
-
ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความปลอดภัยมีอำนาจ ตรวจสอบ ตรวจวัด สอบถามข้อเท็จจริงในสถานประกอบการ
-
ห้ามให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความปลอดภัย
-
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย มีหน้าที่ ส่งเสริม แก้ไข สนับสนุน ดำเนินการตามกฎหมาย
-
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีหน้าที่ สรรหา รวบรวม วิเคราะห์ จัดทำแผน ประสานงาน ดำเนินการ ติดตาม ประเมินผล รับผิดชอบ ทางด้านความปลอดภัย อาชีวอนามับและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
-
ให้นายจ้างแจ้งกับพนักงานความปลอดภัยทันทีเมื่อลูกจ้างเสียชีวิตและแจ้งรายละเอียด สาเหตุ เป็นหนังสือภายในเจ็ดวัน
-
ให้นายจ้างแจ้งกับพนักงานความปลอดภัยทันทีเมื่อเกิดความเสียหายจากการระเบิดแ ไฟไหม้ สารเคมีรั่ว โดยทำเป็นหนังสือบอกถึง สาเหตุ การแก้ไข และวิธีการป้องกันภายในเจ็ดวัน
-
ให้นายจ้างส่งสำเนาหนังสือต่อพนักงานความปลอดภัยภายในเจ็ดวันหลังที่ลูกจ้างได้รับอันตราย
-
พนักงานความปลอดภัยมีอำนาจให้หยุดการกระทำที่ไม่ถูกต้องและให้แก้ไขปรับปรุงภายใน สามสิบวัน
-
พนักงานตรวจความปลอดมีอำนาจให้บุคคลภายนอกเข้าไปแก้ไขปรับปรุงในสถานประกอบการได้หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 36
-
ให้นายจ้างจ่ายเงินแก่ลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับงานที่หยุดไปเท่ากับเงินค่าจ้างของลูกจ้าง เว้นแต่ลูกจ้างเจตนาให้มันเกิดขึ้น
-
นายจ้าง ลูกจ้าง มีสิทธิอุทรณ์เป็นหนังสือต่ออธิบดีภายในสามสิบวันนับจากมีคำสั่งของพนักงานความปลอดภัย ในมาตรา 36
-
พนักงานตรวจความปลอดภัยต้องแสดงบัตรประจำตัวทุกครั้ง
-
ให้จัดตั้งกองทุนความปลอดภัย เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายทางด้านความปลอดภัย
-
เงินกองทุนใช้จ่ายเพื่อ รณรงค์ ส่งเสริม แก้ไข บริหาร ช่วยเหลือ สนับสนุน ทางด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
-
คณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย มีหน้าที่ กำกับ จัดสรรเงิน วางระบียบเกี่ยวกับเงิน หลักเกณฑ์ และอื่นๆ ตามกฎหมาย
-
นายจ้างไม่ปฏิบัติตามมาตราที่ 8 ต้องจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท
-
ผู้ที่มีหน้าที่ รับรอง ตรวจสอบ รายงานตามมาตรา 8 วรรคสองกรอกข้อความเท็จต้องจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
-
ผู้ที่ตรวจวัด ตรวจสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง จัดอบรม ให้คำปรึกษาโดยไม่ขึ้นทะเบียนต้องจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
-
นายจ้างไม่ปฏิบัติตามมาตรา 13 , 16 และ 32 ต้องจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ ปรับไม่เกินสองแสนบาท
-
นายจ้างไม่ปฏิบัติตามมาตรา 14 และ 34 ปรับไม่เกินห้าหมื่น
-
นายจ้างไม่ปฏิบัติตามมาตรา 15 และ 17 ต้องจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
-
นายจ้างไม่ปฏิบัติตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ต้องจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท
-
ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 18 วรรคสอง ต้องจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
-
ผู้ที่ขัดขวางการทำงานของนายจ้าง ตามมาตรา 19 และพนักงานตรวจความปลอดภัย ตามมาตรา 37 ต้องจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
-
ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 22 วรรคหนึ่ง ต้องจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
-
ผู้ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตในการเป็นผู้ชำนาญการทางด้านความปลอดภัย ตามมาตรา 33 ต้องจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
-
ผู้ที่ขัดขวางในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานความปลอดภัยตามมาตรา 35 หรือ 36 ต้องจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
-
ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัยตามมาตรา 36 วรรคหนึ่ง ต้องจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
-
ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามหรือระงับคำสั่งการใช้ของพนักงานตรวจความปลอดภัยต้องจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินแปดแสนบาท
-
นายจ้างไม่ปฏิบัติตามมาตรา 39 ต้องปรับครั้งละไม่เกินห้าหมื่น
-
นายจ้างที่ไม่ปฏิบัติการตามมาตรา 42 ต้องจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท
-
นิติบุคคลที่ทำผิดต้องได้รับโทษตามพระราชบัญญัตินี้
-
ผู้ที่เปิดเผยข้อเท็จจริงของนายจ้างที่สงวนเอาไว้ต้องจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท
-
ความผิดทั้งหมดในพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท เห็นว่าไม่กระทำผิดให้มีอำนาจเปรียบเทียบได้ 1.อธิบดี 2. ผู้ว่าราชการจังหวัด